นักวิจัยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส ได้รับอนุสิทธิบัตรจากสิ่งประดิษฐ์ : สูตรเจลผสมเทียมผสมสารสกัดเปลือกมังคุดและหญ้าพันงูขาว
บทความโดย : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล MSU TODAY ต้นฉบับบทความ : เจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว (msu.ac.th)
เจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว
นวัตกรรมใหม่ นักวิจัย มมส สร้างผลงานผลิตเจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว ซึ่งผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่เกษตรกรใช้ไม่นำเข้าจากต่างประเทศแล้ว เพราะปัจจุบันทีมนักวิจัยเก่ง มมส ได้มีการคิดงานวิจัยที่ตอบสนองต่อวามต้องการของเกษตรกรโดยผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นในสัตว์ใหญ่เป็นการลดการอักเสบและฆ่าเชื้อจุลชีพของโค-กระบือในประเทศไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชสุภา สุนทมาลา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมวิจัยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์...
นักวิจัยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส ค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้จากมหายุคซีโนโซอิก สกุลและชนิดใหม่ของโลก
รศ.ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับทีมวิจัยจากกรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและทีมวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส สำรวจและค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้จากมหายุคซีโนโซอิก สกุลและชนิดใหม่ของโลก จากเหมืองถ่านหินเชียงม่วน จ.พะเยา และเหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง จากการวิจัยสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่ศึกษามีลักษณะที่เก่าแก่กว่ากลุ่มจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งเป็นวงศ์ของจระเข้ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงตั้งชื่อตัวอย่างจระเข้นี้ว่า Antecrocodylus chiangmuanensis n. gen. n. sp. หรือบรรพบุรุษของจระเข้ปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลาง (13-15...
บทความเรื่อง “จุดเกิดเห็ด เรียนรู้เรื่องเห็ดป่าและใช้คัดแยกเห็ดไทย แอพพลิเคชั่นฝีมือคนไทย สแกนหาเห็ดพิษ” จากนิตยสาร The Cloud
เรียบเรียงโดย : สิทธิโชค ศรีโช จากนิตยสาร The cloudต้นฉบับบทความ ‘คัดแยกเห็ดไทย’ แอปพลิเคชันสแกนเห็ดพิษฝีมือคนไทย ตัวช่วยให้กินเห็ดป่าได้อย่างปลอดภัย (readthecloud.co)
กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชัน ‘คัดแยกเห็ดไทย’ นี้มีเส้นทางอย่างไร และข้อมูลในแอปพลิเคชันดังกล่าวบอกอะไรกับเราได้บ้าง รวมถึงอนาคตข้างหน้า ข้อมูลเหล่านี้จะพัฒนาต่อเนื่องไปอย่างไร คือเรื่องราวที่ อีสาน Lifehacker ครั้งนี้อยากชวนสู่คุณผู้อ่านมารับรู้ ผ่านคำบอกเล่าของ รศ.ดร.ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาลัยมหาสารคาม ไปพร้อมกัน...
นักวิจัยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส ร่วมกับนักวิจัยไทย ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ต่อต้านการเกิดโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
รศ.ดร.อภิเดช แสงดี ผศ.ดร.จุฑาพร แสงประจักษ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ ทุนสนับสนุนการวิจัย งบประมาณรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มะเขือเทศ เป็นพืชผักบริโภคผลสดและเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ มีคุณค่าทางอาหารสูง จากข้อมูลของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศรวมทั้งสิ้น 36,452 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูก...
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มมส ศึกษาการเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ของเห็ดพิษในสกุล 𝑬𝒏𝒕𝒐𝒍𝒐𝒎𝒂 โดยใช้ข้อมูลทางอณูชีววิทยา และเป็นการรายงานผลครั้งแรกในประเทศไทย
รศ.ดร.ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ภายใต้ MoU มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
งานวิจัยการรายงานครั้งแรกในประเทศไทยของเห็ดพิษในสกุล Entoloma ที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร โดยใช้ข้อมูลทางอณูชีววิทยา
จำนวนเห็ดพิษที่พบในโลก มีรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อยมา ส่วนในประเทศไทยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากเห็ดพิษสกุล Entoloma ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2564 จำนวน 18 เคส จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (93 ราย)...
นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มมส พัฒนาสูตรสำเร็จเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑙𝑢𝑚 MSU007 ชนิดน้ำ เพื่อประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร ลดปริมาณการใช้สารเคมี
รศ.ดร.วราภรณ์ สุทธิสา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของโรคพืช โดยโรคพืชเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลิตพืชเนื่องจากมีผลกระทบต่อคุณภาพของพืชโดยตรง โดยโรคพืชสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุของพืช ปริมาณธาตุอาหารในดินที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการเข้าทำลายพืชของเชื้อจุลินทรีย์ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืช ได้แก่ 𝐶𝑜𝑙𝑙𝑒𝑐𝑡𝑜𝑡𝑟𝑖𝑐𝑢𝑚 sp., 𝑅ℎ𝑖𝑧𝑜𝑐𝑡𝑜𝑛𝑖𝑎 𝑠𝑜𝑙𝑎𝑛𝑖 และ 𝑆𝑐𝑙𝑒𝑟𝑜𝑡𝑖𝑢𝑚 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 เป็นต้น การควบคุมโรคพืชในปัจจุบันยังคงนิยมใช้สารเคมีในการควบคุมเนื่องจากสะดวก และเห็นผลรวดเร็วแต่ในทางกลับกันการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ผลิตพืช...