รศ.ดร.ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
งานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ภายใต้ MoU มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
งานวิจัยการรายงานครั้งแรกในประเทศไทยของเห็ดพิษในสกุล Entoloma ที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร โดยใช้ข้อมูลทางอณูชีววิทยา
จำนวนเห็ดพิษที่พบในโลก มีรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อยมา ส่วนในประเทศไทยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากเห็ดพิษสกุล Entoloma ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2564 จำนวน 18 เคส จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (93 ราย) ภาคตะวันออก (7 ราย) และภาคใต้ (34 ราย) เนื่องจากเห็ดพิษสกุลนี้ พบการเจริญปะปนกับเห็ดรับประทานได้ในป่าธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ทำให้มีการเข้าใจผิดและเก็บเห็ดพิษสกุลดังกล่าวมารับประทาน และมีอาการเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดพิษสกุล Entoloma ที่เหลือจากการรับประทานเป็นตัวอย่างสำหรับส่งตรวจมีจำนวนน้อยและยากต่อการระบุชนิดได้ ดังนั้น โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุชนิดเห็ดพิษในสกุลนี้ด้วยข้อมูลทางอณูชีววิทยาโดยใช้ specific primers ได้แก่ nuclear internal transcribed spacer (ITS) region, nuclear large subunit ribosomal DNA (LSU) และ mitochondrial small subunit ribosomal DNA (mtSSU) และใช้คู่ primers EnMt-75F and EnMt-532R, specific for mtSSU of Entoloma species
ตัวอย่างเห็ดพิษที่เหลือจากการรับประทานและส่งตรวจที่ศูนย์พิษวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากจังหวัดบึงกาฬ ภูเก็ต ศรีสะเกษ จันทบุรี สตูล เลย ยโสธร สงขลา กระบี่ ชัยภูมิ สุราฎร์ธานี อุดรธานี บุรีรัมย์ และสกลนคร พบเห็ดพิษสกุล Entoloma จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ Entoloma caespitosum, Entoloma griseolazulinum, Entoloma cf. prunuloides, Entoloma mastoideum, Entoloma omiense, Entoloma aff. subclitocyboides, Entoloma sp.1 และ Entoloma sp.2 จากข้อมูลวิจัยพบว่าเห็ดพิษชนิด Entoloma griseolazulinum เป็นชนิดที่พบรายงานเป็นครั้งแรกสำหรับเห็ดพิษที่พบในป่าธรรมชาติในสกุล Entoloma