Facebook
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
คณะผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐาน
บุคลากร
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร
สาขาชีววิทยา
สาขาสาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
สำหรับบุคลากร
ระบบสารสนเทศ
ดาวโหลดแบบฟอร์ม / ประกาศ
สำหรับนิสิต
ชมรมศิษย์เก่าชีววิทยา
ค้นหา
SIGN UP
bio.msu.ac.th
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
คณะผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐาน
บุคลากร
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร
สาขาชีววิทยา
สาขาสาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
สำหรับบุคลากร
ระบบสารสนเทศ
ดาวโหลดแบบฟอร์ม / ประกาศ
สำหรับนิสิต
ชมรมศิษย์เก่าชีววิทยา
สาขา
ชีววิทยา
ชื่อหลักสูตร
> วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา
อักษรย่อ
> วท.บ. ชีววิทยา จำนวนไม่น้อยกว่า 135 หน่วยกิต (โปรแกรมปกติ) หรือ 141 หน่วยกิต (โปรแกรมสหกิจศึกษา)
ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร
ชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ โครงสร้าง และหน้าที่การทำงานของสิ่งมีชีวิต พฤติกรรม วิวัฒนาการ การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชิวิตกับสิ่งแวดล้อม ในทุกระดับของการจัดระบบของชีวิต ตั้งแต่ระดับเซลล์ เนื้อเยื่อ ระบบอวัยวะ ประชากร กลุ่มสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศ นอกจากเนื้อหาในภาคทฤษฏีแล้ว นิสิตจะได้ฝึกปฏิบัติการทางชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ได้รับโอกาสในการฝึกงานระยะสั้น และการเข้าสู่โปรแกรมสหกิจศึกษาที่หน่วยงานภายนอก รวมไปถึง การฝึกใช้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการตั้งและทดสอบสมมติฐานเบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้
จุดเด่นของหลักสูตร
นิสิตที่เข้ารับการศึกษาในหลักสูตร วท.บ. (ชีววิทยา) จะได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการที่สมบูรณ์เพียงพอต่อการประกอบวิชาชีพในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ซึ่งประกอบไปด้วยรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเลือกจำนวนมากให้นิสิตสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจอย่างกว้างๆ ทั้งการศึกษาชีววิทยาพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต เซลล์และเนื้อเยื่อ สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ จุลชีววิทยา นิเวศวิทยา พันธุศาสตร์ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและอนุกรมวิธาน บรรพชีวินวิทยา และหม่อนไหม แต่ละรายวิชานั้นจะมีปฏิบัติการทางชีววิทยาที่ช่วยในการเสริมความรู้ ความเข้าใจ และทักษะความสามารถของนิสิตให้พร้อมต่อการประกอบวิชาชีพต่อไปจุดเด่นที่สำคัญของหลักสูตรนี้คือ นิสิตสามารถเลือกที่จะไปฝึกงานระยะสั้น หรือเข้าโปรแกรมสหกิจศึกษายังหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมไปถึงการฝึกทักษะการทำวิจัยเบื้องต้นในการทำโครงงานทางชีววิทยาในแขนงวิชาที่นิสิตมีความสนใจ โดยนิสิตจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคณาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาให้นิสิตเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้ในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทย์-คณิต และต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
แนวทางในการศึกษาต่อ
ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาวิชาจุลชีววิทยาชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ และบรรพชีวินทั้งในหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
ผู้ที่จบการศึกษาจากจะมีความรู้ความสามารถ และผ่านการฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างกว้างๆ ในหลากหลายด้าน โดยเฉพาะด้านที่นิสิตสนใจ ทำให้นิสิตมีแนวทางในการประกอบอาชีพที่หลากหลายจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาคราชการและภาคเอกชน เช่น การเป็นนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหาร เกษตร ประมง ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อุทยานแห่งชาติและพื้นที่อนุรักษ์ โรงพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ พิษวิทยา นิติวิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา น้ำประปา น้ำบาดาล มลพิษสิ่งแวดล้อม ผู้ช่วยนักวิจัยในมหาวิทยาลัย รวมไปถึงโอกาสในการเป็นครูและอาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่างๆ