LATEST NEWS
ARTICLES

บทความโดย : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล MSU TODAY ต้นฉบับบทความ : เจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว (msu.ac.th) เจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว นวัตกรรมใหม่ นักวิจัย มมส สร้างผลงานผลิตเจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว ซึ่งผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่เกษตรกรใช้ไม่นำเข้าจากต่างประเทศแล้ว เพราะปัจจุบันทีมนักวิจัยเก่ง มมส ได้มีการคิดงานวิจัยที่ตอบสนองต่อวามต้องการของเกษตรกรโดยผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นในสัตว์ใหญ่เป็นการลดการอักเสบและฆ่าเชื้อจุลชีพของโค-กระบือในประเทศไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชสุภา สุนทมาลา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ร่วมวิจัยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.ชรินญา โสอินทร์ (มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์)     ที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้ ผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่เกษตรกรที่ใช้ส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นในสัตว์ใหญ่จากประเทศจีน เป็นต้น โดยเป็นลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเจลหล่อลื่นเท่านั้น ไม่ได้มีคุณสมบัติลดการอักเสบและฆ่าเชื้อจุลชีพ ดังนั้นนักวิจัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการปศุสัตว์โค-กระบือในประเทศไทย จึงนำผลงานวิจัยจาก 2 เรื่องของนักวิจัยทั้ง 2 คน...
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการ การนำเสนอผลงานโครงงานวิจัยของนิสิตภาควิชาชีววิทยาชั้นปีที่ 4 ครั้งที่ 16 16th Bioresearch SCIMSU โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวดล โกมณเฑียร หัวหน้าภาควิชาชีววิทยากล่าวรายงานวัตถุประสงค์ การนำเสนอผลงานในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายแบบโปสเตอร์ และมีการประกวดนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาใน 6 สาขาวิชา คือ จุลชีววิทยา (Microbiology) นิเวศวิทยา (Ecology) บรรพชีวินวิทยา...
รศ.ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับทีมวิจัยจากกรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและทีมวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส สำรวจและค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้จากมหายุคซีโนโซอิก สกุลและชนิดใหม่ของโลก จากเหมืองถ่านหินเชียงม่วน จ.พะเยา และเหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง จากการวิจัยสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่ศึกษามีลักษณะที่เก่าแก่กว่ากลุ่มจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งเป็นวงศ์ของจระเข้ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงตั้งชื่อตัวอย่างจระเข้นี้ว่า Antecrocodylus chiangmuanensis n. gen. n. sp. หรือบรรพบุรุษของจระเข้ปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลาง (13-15 ล้านปี) จากการค้นพบ Antecrocodylus chiangmuanensis นี้แสดงให้เห็นว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งสะสมซากดึกดำบรรพ์จระเข้อย่างมากมายในสมัยไมโอซีน ซึ่งแต่เดิมถูกเพิกเฉยและประเมินค่าความหลากหลายไว้ต่ำมาก การค้นพบครั้งนี้นี่จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงและรูปแบบการอพยพที่เกิดขึ้นระหว่าง “จระเข้จากเอเชียในสมัยไมโอซีนกับจระเข้จากแอฟริกาในยุคนีโอจีน” หากมีหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์เพิ่มขึ้น ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/08912963.2023.2278152
เรียบเรียงโดย : สิทธิโชค ศรีโช จากนิตยสาร The cloudต้นฉบับบทความ ‘คัดแยกเห็ดไทย’ แอปพลิเคชันสแกนเห็ดพิษฝีมือคนไทย ตัวช่วยให้กินเห็ดป่าได้อย่างปลอดภัย (readthecloud.co) กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชัน ‘คัดแยกเห็ดไทย’ นี้มีเส้นทางอย่างไร และข้อมูลในแอปพลิเคชันดังกล่าวบอกอะไรกับเราได้บ้าง รวมถึงอนาคตข้างหน้า ข้อมูลเหล่านี้จะพัฒนาต่อเนื่องไปอย่างไร คือเรื่องราวที่ อีสาน Lifehacker ครั้งนี้อยากชวนสู่คุณผู้อ่านมารับรู้ ผ่านคำบอกเล่าของ รศ.ดร.ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาลัยมหาสารคาม ไปพร้อมกัน ภายใต้บรรยากาศของพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาสุดน่าทึ่ง