Facebook
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
คณะผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐาน
บุคลากร
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร
สาขาชีววิทยา
สาขาสาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
สำหรับบุคลากร
ระบบสารสนเทศ
ดาวโหลดแบบฟอร์ม / ประกาศ
สำหรับนิสิต
ชมรมศิษย์เก่าชีววิทยา
ค้นหา
SIGN UP
bio.msu.ac.th
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
คณะผู้บริหาร
ข้อมูลพื้นฐาน
บุคลากร
หลักสูตรที่เปิดสอน
หลักสูตรปริญญาตรี 3 หลักสูตร
สาขาชีววิทยา
สาขาสาขาวิชาจุลชีววิทยา
สาขาวิชาพันธุศาสตร์โมเลกุล
หลักสูตรบัณฑิตศึกษา
สำหรับบุคลากร
ระบบสารสนเทศ
ดาวโหลดแบบฟอร์ม / ประกาศ
สำหรับนิสิต
ชมรมศิษย์เก่าชีววิทยา
สาขาวิชาจุล
ชีววิทยา
ชื่อหลักสูตร
> วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
อักษรย่อ
> วท.บ. จุลชีววิทยา (จำนวนไม่น้อยกว่า 137 หน่วยกิต)
ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร
เป็นหลักสูตรที่เน้นการศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น อาร์เคีย แบคทีเรีย เห็ดรา สาหร่าย โปรโตซัว ไวรัส และไวรอยด์ โดยศึกษาในด้านอนุกรมวิธาน สรีรวิทยา พันธุกรรม นิเวศวิทยาความสัมพันธ์ของจุลินทรีย์กับมนุษย์ สัตว์ และพืช การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ การวินิจฉัยจุลินทรีย์ วิทยาภูมิคุ้มกัน รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การเกษตร และอุตสาหกรรม
จุดเด่นของหลักสูตร
หลักสูตรมุ่งพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาการ และการปฏิบัติวิจัยทางสาขาจุลชีววิทยาให้สอดคล้องกับภูมิสังคม โดยยึดสภาพท้องถิ่นและความต้องการของชุมชนเป็นหลัก ควบคู่กันไปกับการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม และมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง มีทั้งทักษะทางวิชาการ ทักษะการปฏิบัติงาน และทักษะทางสังคมควบคู่กัน โดยส่งเสริมให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนร่วมในการเรียนการสอนในรูปแบบสหกิจศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าโดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด
แนวทางในการศึกษาต่อ
บัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยา สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาระดับสูงขึ้นในหลายสาขาวิชา ทั้งในสาขาวิชาในกลุ่มจุลชีววิทยาประยุกต์ เช่น จุลชีววิทยาทางด้านการแพทย์ จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม จุลชีววิทยาสิ่งแวดล้อม จุลชีววิทยาทางการเกษตร และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่มีความใกล้เคียงกัน อาทิเช่น ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุวิศวกรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งในหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
แนวทางในการประกอบอาชีพ
เนื่องจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา ได้เปิดให้นิสิตได้เลือกเรียนรายวิชาจุลชีววิทยาในด้านต่าง ๆ ตามความถนัด ดังนั้นแนวทางในการประกอบอาชีพของบัณฑิตสาขาวิชาจุลชีววิทยา จึงมีความหลากหลายในสายงานทั้งในส่วนของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เช่น นักวิชาการ นักวิจัยและพัฒนาฝ่ายประกันคุณภาพ และฝ่ายควบคุมภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นม อุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมนอกจากนั้นยังสามารถประกอบอาชีพอิสระ หรือธุรกิจส่วนตัวได้อีกทางหนึ่งด้วย