หน้าแรก บล็อก

นักวิจัยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส ได้รับอนุสิทธิบัตรจากสิ่งประดิษฐ์ : สูตรเจลผสมเทียมผสมสารสกัดเปลือกมังคุดและหญ้าพันงูขาว

บทความโดย : สินีนาฎ พรั่งพร้อมกุล MSU TODAY ต้นฉบับบทความ : เจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว (msu.ac.th)

เจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว

นวัตกรรมใหม่ นักวิจัย มมส สร้างผลงานผลิตเจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบวัว ซึ่งผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่เกษตรกรใช้ไม่นำเข้าจากต่างประเทศแล้ว เพราะปัจจุบันทีมนักวิจัยเก่ง มมส ได้มีการคิดงานวิจัยที่ตอบสนองต่อวามต้องการของเกษตรกรโดยผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นในสัตว์ใหญ่เป็นการลดการอักเสบและฆ่าเชื้อจุลชีพของโค-กระบือในประเทศไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุชสุภา สุนทมาลา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ร่วมวิจัยกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร.ชรินญา โสอินทร์ (มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์)    

ที่มาของงานวิจัยชิ้นนี้

ผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่เกษตรกรที่ใช้ส่วนใหญ่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์เจลหล่อลื่นในสัตว์ใหญ่จากประเทศจีน เป็นต้น โดยเป็นลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเจลหล่อลื่นเท่านั้น ไม่ได้มีคุณสมบัติลดการอักเสบและฆ่าเชื้อจุลชีพ ดังนั้นนักวิจัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการปศุสัตว์โค-กระบือในประเทศไทย จึงนำผลงานวิจัยจาก 2 เรื่องของนักวิจัยทั้ง 2 คน ได้แก่ ฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดจากเปลือกมังคุด และฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัดจากหญ้าพันงูขาวมาพัฒนาต่อยอด เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ โดยได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีงบประมาณ 2565

วัตถุประสงค์ทำงานวิจัยชิ้นนี้ สร้างนวัตกรรมเจลผสมเทียมต้านมดลูกอักเสบโค-กระบือที่มีคุณสมบัติที่ดี มีความปลอดภัยสูงและมีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์

คุณสมบัติของของเจลผสมเทียม

     เจลผสมเทียมผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุด และหญ้าพันงูขาวมีประสิทธิผลในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดมดลูกอักเสบทั้งในหลอดทดลอง และในสัตว์ทดลองอีกทั้งยังไม่มีผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อของอวัยวะสืบพันธุ์ และการทำงานของตับ และไต จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เจลผสมเทียมผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุด และหญ้าพันงูขาวนี้ ในการป้องกันการเกิดมดลูกอักเสบ และเยื่อบุผนังมดลูกอักเสบในโค-กระบือ ซึ่งเป็นโรคทางระบบสืบพันธุ์ที่ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจ และลดปัญหาการติดเชื้อเรื้อรังซึ่งมีผลต่อการผสมติดจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการสืบพันธุ์ของโค-กระบือได้

จุดเด่นของเจลผสมเทียมเป็นอย่างไร

สำหรับจุดเด่นของเจลผสมเทียมคือ การลดการแพร่ระบาด และควบคุมการเกิดโรคทางระบบสืบพันธุ์โค-กระบืออย่างมีประสิทธิผล มีแนวทางดังนี้ 

1) ลดการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียจากอุปกรณ์ผสมเทียม 

2) เพิ่มการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของเซลล์เยื่อบุมดลูก 

3) ช่วยลดการเกิดการอักเสบจากกระบวนการผสมเทียมและการตรวจโรคทางระบบสืบพันธุ์ 

4) ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับระบบสืบพันธุ์โค-กระบือ นอกจากนี้ยังไม่มีผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมที่ผลิตในประเทศไทย โดยเกษตรกรที่ต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะทำการซื้อผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมจากต่างประเทศ ทำให้ยากต่อการควบคุมคุณภาพ และเสียดุลการค้า จากงานวิจัยก่อนหน้าผู้วิจัยพบว่าสารสกัดจากเปลือกมังคุด และหญ้าพันงูขาวมีคุณสมบัติจำเพาะ ดังนี้ 

– เปลือกมังคุดมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในบาดแผลของกระต่าย 
– หญ้าพันงูขาวมีฤทธิ์ลดการอักเสบอย่างจำเพาะต่อเซลล์แมโครฟาจ อีกทั้งสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์เม็ดเลือดขาว และเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนานวัตกรรมเจลผสมเทียมผสมสารสกัดจากพืชสมุนไพรไทยเพื่อเกษตรกรไทย และการปศุสัตว์ไทย ซึ่งนวัตกรรมเจลผสมเทียมผสมสารสกัดจากมังคุด และหญ้าพันงูขาวที่ได้จะมีคุณสมบัติจำเพาะ เป็นสารธรรมชาติที่ได้จากพืชสมุนไพรไทย  ไม่เป็นพิษต่อร่างกาย มีความคงตัว มีต้นทุนการผลิตต่ำ มีศักยภาพในการผลิตเชิงพาณิชย์สูง อีกทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมจากต่างประเทศ และสามารถต่อยอดการผลิตสารเสริมฤทธิ์เชิงพาณิชย์

จลผสมเทียมเหมาะที่จำไปใช้กับสัตว์ชนิดใดมากที่สุด

เจลผสมเทียมนี้เหมาะที่จะใช้กับ โค-กระบือ

ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานหรือไม่

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่มีปัญหา มีการทดสอบประสิทธิภาพทั้งในห้องปฏิบัติการและในโคอาสาสมัคร แต่การที่จะนำไปผลิตในเชิงพาณิชย์ และการนำไปใช้ในชุมชนจำเป็นต้องเดินหน้าต่อไป

เรามีการผลิตเจลผสมเทียมสัตว์ขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่

สำหรับนวัตกรรมชิ้นนี้ ได้ทำการยื่นจดอนุสิทธิบัตรภายใต้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และยังไม่ได้มีการผลิตในเชิงพาณิชย์

มีนโยบายในการนำผลงานวิจัยชิ้นนี้ลงสู่ชุมชนหรือไม่

หากมีการผลิตในเชิงพาณิชย์ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ในการผสมเทียมโค-กระบือ และสามารถลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคในระบบสืบพันธุ์ของโค-กระบือได้ 

มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง

ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะ หน่วยงาน และบุคลาดกร ที่มีส่วนในการสนับสนุนทุนวิจัย ภายใต้กองส่งเสริมการวิจัยและบริการวิชาการ ปีงบประมาณ 2565

ในอนาคตจะมีการพัฒนาผลงานวิจัย อย่างไรบ้าง

ในอนาคตจะเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสารสกัดธรรมชาติ เพื่อนำไปใช้ในมนุษย์ สัตว์ ปศุสัตว์ เพื่อส่งเสริมชุมชนและเกษตรกร และอาจพัฒนาผลิตภัณฑ์เจลผสมเทียมไปใช้ในสัตว์อื่นๆ ด้วย

ฝากอะไรถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ในการคิดค้นงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อสังคม และชุมชน

งานวิจัยนั้นๆ หากสามารถประยุกต์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้ จะสามารถช่วยให้ประเทศไทยมีนวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในประเทศ เพื่อการพัฒนาชุมชนและการปศุสัตว์ไทยอย่างยั่งยืน

การนำเสนอผลงานโครงงานวิจัยของนิสิตภาควิชาชีววิทยาชั้นปีที่ 4 ครั้งที่ 16 (16th Bioresearch SCIMSU)

เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2567 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการ การนำเสนอผลงานโครงงานวิจัยของนิสิตภาควิชาชีววิทยาชั้นปีที่ 4 ครั้งที่ 16 16th Bioresearch SCIMSU โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ ประมวล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ เป็นประธานเปิดโครงการ มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูวดล โกมณเฑียร หัวหน้าภาควิชาชีววิทยากล่าวรายงานวัตถุประสงค์ การนำเสนอผลงานในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายแบบโปสเตอร์ และมีการประกวดนวัตกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาใน 6 สาขาวิชา คือ จุลชีววิทยา (Microbiology) นิเวศวิทยา (Ecology) บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) พฤกษศาสตร์ (Botany) พันธุศาสตร์ (Genetics) และ สัตววิทยา (Zoology)

นักวิจัยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส ค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้จากมหายุคซีโนโซอิก สกุลและชนิดใหม่ของโลก

รศ.ดร.คมศร เลาห์ประเสริฐ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมกับทีมวิจัยจากกรมทรัพยากรธรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและทีมวิจัยจากประเทศฝรั่งเศส สำรวจและค้นพบซากดึกดำบรรพ์จระเข้จากมหายุคซีโนโซอิก สกุลและชนิดใหม่ของโลก จากเหมืองถ่านหินเชียงม่วน จ.พะเยา และเหมืองถ่านหินแม่เมาะ จ.ลำปาง จากการวิจัยสายสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการแสดงให้เห็นว่าตัวอย่างที่ศึกษามีลักษณะที่เก่าแก่กว่ากลุ่มจระเข้ในวงศ์ Crocodylidae ซึ่งเป็นวงศ์ของจระเข้ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้คณะวิจัยจึงตั้งชื่อตัวอย่างจระเข้นี้ว่า Antecrocodylus chiangmuanensis n. gen. n. sp. หรือบรรพบุรุษของจระเข้ปัจจุบัน มีอายุอยู่ในสมัยไมโอซีนตอนกลาง (13-15 ล้านปี) จากการค้นพบ Antecrocodylus chiangmuanensis นี้แสดงให้เห็นว่าทวีปเอเชียเป็นแหล่งสะสมซากดึกดำบรรพ์จระเข้อย่างมากมายในสมัยไมโอซีน ซึ่งแต่เดิมถูกเพิกเฉยและประเมินค่าความหลากหลายไว้ต่ำมาก การค้นพบครั้งนี้นี่จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำความเข้าใจความเชื่อมโยงและรูปแบบการอพยพที่เกิดขึ้นระหว่าง “จระเข้จากเอเชียในสมัยไมโอซีนกับจระเข้จากแอฟริกาในยุคนีโอจีน” หากมีหลักฐานทางซากดึกดำบรรพ์เพิ่มขึ้น

ผู้สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/08912963.2023.2278152

บทความเรื่อง “จุดเกิดเห็ด เรียนรู้เรื่องเห็ดป่าและใช้คัดแยกเห็ดไทย แอพพลิเคชั่นฝีมือคนไทย สแกนหาเห็ดพิษ” จากนิตยสาร The Cloud

เรียบเรียงโดย : สิทธิโชค ศรีโช จากนิตยสาร The cloud
ต้นฉบับบทความ ‘คัดแยกเห็ดไทย’ แอปพลิเคชันสแกนเห็ดพิษฝีมือคนไทย ตัวช่วยให้กินเห็ดป่าได้อย่างปลอดภัย (readthecloud.co)

กว่าจะมาเป็นแอปพลิเคชัน ‘คัดแยกเห็ดไทย’ นี้มีเส้นทางอย่างไร และข้อมูลในแอปพลิเคชันดังกล่าวบอกอะไรกับเราได้บ้าง รวมถึงอนาคตข้างหน้า ข้อมูลเหล่านี้จะพัฒนาต่อเนื่องไปอย่างไร คือเรื่องราวที่ อีสาน Lifehacker ครั้งนี้อยากชวนสู่คุณผู้อ่านมารับรู้ ผ่านคำบอกเล่าของ รศ.ดร.ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล ภัณฑารักษ์ประจำพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาลัยมหาสารคาม ไปพร้อมกัน ภายใต้บรรยากาศของพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาสุดน่าทึ่ง

นักวิจัยภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มมส ร่วมกับนักวิจัยไทย ศึกษาการใช้จุลินทรีย์ต่อต้านการเกิดโรค และส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

รศ.ดร.อภิเดช แสงดี ผศ.ดร.จุฑาพร แสงประจักษ์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะ ทุนสนับสนุนการวิจัย งบประมาณรายได้ ประจำปีงบประมาณ 2566 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มะเขือเทศ เป็นพืชผักบริโภคผลสดและเพื่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ มีคุณค่าทางอาหารสูง จากข้อมูลของสํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานว่าในปี 2561 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะเขือเทศรวมทั้งสิ้น 36,452 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ปลูก มะเขือเทศโรงงาน 20,888 ไร่ และมะเขือเทศบริโภค 15,564 ไร่ ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี พื้นที่ปลูกมากที่สุด โดยให้ผลผลิตมะเขือเทศโรงงาน 51,565 ตัน และ 15,150 ตัน สําหรับมะเขือเทศบริโภค แต่ในกระบวนการเพาะปลูกหรือผลิตมะเขือเทศ มักประปัญหาในเรื่องของโรคพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f.sp. lycopersici (Fol) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเหี่ยวเหลืองในมะเขือเทศ โดยเชื้อโรคจะทําความเสียหายให้แก่พืชได้ทุกระยะ ของต้นกล้า บางครั้งพบว่ามะเขือเทศเป็นโรคตายหมดทั้งแปลง ทําให้ไม่ได้ผลผลิต โดยมีรายงาน ว่าเชื้อดังกล่าวสามารถสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตมะเขือเทศได้ถึง 90% (Hibar et al., 2006) และเชื้อโรคชนิดนี้สามารถอยู่ในดินได้นานหลายปี

แนวทางหนึ่งที่สามารถใช้ทดแทนการใช้สารเคมี คือ การควบคุมโรคโดยชีววิธี (biocontrol) ด้วยการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เช่น เชื้อแบคทีเรียในจีนัส Bacillus โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ มีรายงานว่ามีคุณสมบัติทั้งการเป็นปฏิปักษ์ต่อเชื้อสาเหตุโรคและกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช โดยผลจากการศึกษาครั้งนี้ได้คัดแยกแบคทีเรีย Bacillus stercoris B.PNR1 จากพื้นที่เกษตรในจังหวัดบุรีรัมย์ แบคทีเรียสายพันธุ์นี้มีความสามารถในการยับยั้งการเจริญของราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด เช่น Fusarium spp. สาเหตุโรคเหี่ยวในมะเขือเทศและกล้วย Colletotrichum spp. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในกล้วยและพริก เป็นต้น ทีมวิจัยได้แสดงให้เห็น ถึงศักยภาพของแบคทีเรีย B.PNR1 ในการควบคุมโรคเหี่ยวเหลืองที่เกิดจากรา F. oxysporum f. sp. lycopersici ในมะเขือเทศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้ว ทีมวิจัยได้ศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบกลไกลที่สําคัญในการควบคุมโรคของแบคทีเรีย B.PNR1 เช่น การผลิตเอนไซม์ต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคพืช รวมไปถึงศึกษาคุณสมบัติที่สําคัญในการส่งเสริมการเจริญของพืช รวมไปถึงการยืนยันในระดับยืนด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของแบคทีเรีย B.PNR1 และค้นหายีนที่มีบทบาทสําคัญในการยับยั้งโรคพืชและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น แบคทีเรีย Bacillus stercoris B.PNR1 ที่คัดแยกและทดสอบคุณสมบัติที่สําคัญในการควบคุมโรคและส่งเสริมการเจริญของพืชจึงมีศักยภาพที่จะนําไปพัฒนาต่อยอดและผลิตเป็นชีวภัณฑ์สําหรับการปลูกพืชได้และสนับสนุนการผลิตพืชตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มมส ศึกษาการเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ของเห็ดพิษในสกุล 𝑬𝒏𝒕𝒐𝒍𝒐𝒎𝒂 โดยใช้ข้อมูลทางอณูชีววิทยา และเป็นการรายงานผลครั้งแรกในประเทศไทย

รศ.ดร.ขวัญุเรือน นาคสุวรรณ์กุล ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
งานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ภายใต้ MoU มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

งานวิจัยการรายงานครั้งแรกในประเทศไทยของเห็ดพิษในสกุล Entoloma ที่ทำให้เกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร โดยใช้ข้อมูลทางอณูชีววิทยา

จำนวนเห็ดพิษที่พบในโลก มีรายงานเพิ่มขึ้นเรื่อยมา ส่วนในประเทศไทยมีรายงานจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากเห็ดพิษสกุล Entoloma ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2564 จำนวน 18 เคส จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (93 ราย) ภาคตะวันออก (7 ราย) และภาคใต้ (34 ราย) เนื่องจากเห็ดพิษสกุลนี้ พบการเจริญปะปนกับเห็ดรับประทานได้ในป่าธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ทำให้มีการเข้าใจผิดและเก็บเห็ดพิษสกุลดังกล่าวมารับประทาน และมีอาการเกิดพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเห็ดพิษสกุล Entoloma ที่เหลือจากการรับประทานเป็นตัวอย่างสำหรับส่งตรวจมีจำนวนน้อยและยากต่อการระบุชนิดได้ ดังนั้น โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุชนิดเห็ดพิษในสกุลนี้ด้วยข้อมูลทางอณูชีววิทยาโดยใช้ specific primers ได้แก่ nuclear internal transcribed spacer (ITS) region, nuclear large subunit ribosomal DNA (LSU) และ mitochondrial small subunit ribosomal DNA (mtSSU) และใช้คู่ primers EnMt-75F and EnMt-532R, specific for mtSSU of Entoloma species

ตัวอย่างเห็ดพิษที่เหลือจากการรับประทานและส่งตรวจที่ศูนย์พิษวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากจังหวัดบึงกาฬ ภูเก็ต ศรีสะเกษ จันทบุรี สตูล เลย ยโสธร สงขลา กระบี่ ชัยภูมิ สุราฎร์ธานี อุดรธานี บุรีรัมย์ และสกลนคร พบเห็ดพิษสกุล Entoloma จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ Entoloma caespitosum, Entoloma griseolazulinum, Entoloma cf. prunuloides, Entoloma mastoideum, Entoloma omiense, Entoloma aff. subclitocyboides, Entoloma sp.1 และ Entoloma sp.2 จากข้อมูลวิจัยพบว่าเห็ดพิษชนิด Entoloma griseolazulinum เป็นชนิดที่พบรายงานเป็นครั้งแรกสำหรับเห็ดพิษที่พบในป่าธรรมชาติในสกุล Entoloma

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มมส พัฒนาสูตรสำเร็จเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑙𝑢𝑚 MSU007 ชนิดน้ำ เพื่อประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตร ลดปริมาณการใช้สารเคมี

รศ.ดร.วราภรณ์ สุทธิสา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เกษตรกรรมเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศไทย ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับการระบาดของโรคพืช โดยโรคพืชเป็นอุปสรรคสำคัญในการผลิตพืชเนื่องจากมีผลกระทบต่อคุณภาพของพืชโดยตรง โดยโรคพืชสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อายุของพืช ปริมาณธาตุอาหารในดินที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการเข้าทำลายพืชของเชื้อจุลินทรีย์ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อสาเหตุโรคพืช ได้แก่ 𝐶𝑜𝑙𝑙𝑒𝑐𝑡𝑜𝑡𝑟𝑖𝑐𝑢𝑚 sp., 𝑅ℎ𝑖𝑧𝑜𝑐𝑡𝑜𝑛𝑖𝑎 𝑠𝑜𝑙𝑎𝑛𝑖 และ 𝑆𝑐𝑙𝑒𝑟𝑜𝑡𝑖𝑢𝑚 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 เป็นต้น การควบคุมโรคพืชในปัจจุบันยังคงนิยมใช้สารเคมีในการควบคุมเนื่องจากสะดวก และเห็นผลรวดเร็วแต่ในทางกลับกันการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรผู้ผลิตพืช ผู้บริโภค รวมทั้งสภาพแวดล้อม ซึ่งผลกระทบดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เกิดสารเคมีตกค้างในร่างกายทั้งเกษตรกรและผู้บริโภคซึ่งเป็นอันตรายทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือเกิดการตกค้างของสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น ดิน แหล่งน้ำ นอกจากนี้การใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้เชื้อสาเหตุโรคพืชเกิดการกลายพันธุ์ต่อต้านต่อสารเคมีดังกล่าวได้การควบคุมจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชโดยชีววิธีจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำมาประยุกต์ใช้ในภาคการเกษตรเพื่อลดปริมาณการใช้สารเคมีจึงมีการศึกษาการพัฒนาชีวภัณฑ์จากเชื้อราปฏิปักษ์เพื่อใช้ในการควบคุมจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืช ทดแทนการใช้สารเคมีการพัฒนาสูตรสำเร็จจากเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 spp. จึงถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 spp. เป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่ มีกลไกการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชหลายกลไก ได้แก่ การสร้างสารปฏิชีวนะ การแข่งขัน การเป็นปรสิต การ ชักนําพืชให้เกิดความต้านทาน เป็นต้น ในปัจจุบันชีวภัณฑ์ของเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 spp. มีอยู่ 2 รูปแบบ หลักๆ ได้แก่ สูตรสําเร็จชนิดแห้ง และสูตรสําเร็จชนิดน้ํา การพัฒนาสูตรสําเร็จเชื้อรา 𝑇𝑟𝑖𝑐ℎ𝑜𝑑𝑒𝑟𝑚𝑎 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑡𝑢𝑚 MSU007 ชนิดน้ําขึ้น ทั้งหมด 4 สูตร ในแต่ละสูตรจะมีการเติมสารป้องกันเซลล์ที่ต่างชนิดกัน ได้แก่ กากน้ําตาล 10% กากน้ําตาล 5% น้ําตาลแลกโตส 5% และน้ําตาลทรีฮาโลส 5% พบว่าทั้ง 4 สูตร ทุก อัตราการใช้ ได้แก่ 4 มิลลิลิตรต่อน้ํา 1 ลิตร 5 มิลลิลิตรต่อน้ํา 1 ลิตร และ 6 มิลลิลิตรต่อน้ํา 1 ลิตร มี ประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยและยับยั้งการงอกของเม็ด sclerotium ของเชื้อรา 𝑆. 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 ได้แสดงให้เห็นว่าสูตรสําเร็จชนิดน้ำของ 𝑇. 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑙𝑢𝑚 MSU007 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อรา 𝑆. 𝑟𝑜𝑙𝑓𝑠𝑖𝑖 ได้ดี และสามารถใช้ได้ง่ายและสะดวก ซึ่งการควบคุมโรคพืชโดยใช้เชื้อรา 𝑇. 𝑎𝑠𝑝𝑒𝑟𝑒𝑙𝑙𝑢𝑚 MSU007 มีศักยภาพในการสนับสนุนเกษตรยั่งยืน เนื่องจากช่วยลดการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วย เพิ่มผลผลิตของพืชได้