นักวิจัยภาคชีววิทยา มมส พบซาก “ปลาปอด” ชนิดใหม่ของโลก อายุ 150 ล้านปี

2355

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ นักธรณีวิทยาชํานาญการ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี รองศาสตราจารย์.ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.อุทุมพร ดีศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมแถลงค้นพบซากดึกดําบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุกว่า 150 ล้านปี มีคุณสมบัติพิเศษ คือหายใจด้วยปอดร่วมกับการหายใจด้วย เหงือก ถูกค้นพบในพื้นที่ ตำบลดินจี่ อำเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในหมวดหินภูกระดึง กลุ่มหิน โคราช ยุคจูราสสิกตอนปลาย มีอายุ 150 ล้านปี การวิจัยครั้งนี้มีความสําคัญต่อการศึกษา วิวัฒนาการ และถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก และเป็นหลักฐานแสดงถึงความหลาก หลายชีวภาพของแหล่งซากดึกดําบรรพ์ภูน้อยปลาปอดจัดเป็นปลาโบราณ เนื่องจากพบปรากฏเมื่อ 417 ล้านปี หรือในยุคดีโวเนียน และยังคงพบในปัจจุบัน ลักษณะของปลาปอด คือหายใจด้วยปอดร่วมกับ การหายใจด้วยเหงือก ครีบอก และครีบท้องมีลักษณะเป็นเนื้อหุ้มลําตัวปกคลุมด้วยเกล็ดแบบคอ สมอยด์ ฟันมีลักษณะเป็นแผ่นฟัน ซากดึกดําบรรพ์ปลาปอดสกุลเฟอร์กาโนเซอราโตกัส ถือว่า เป็นซากดึกดําบรรพ์ที่หายาก โดยเฉพาะส่วนกะโหลก โดยสกุลนี้พบในประเทศจีน ประเทศ รัสเซีย และประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นการค้นพบปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตส แอนเคมเป นับว่ามีความสําคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการและถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก

ภาพ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา