นิสิตภาคชีววิทยา ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับทุนการศึกษา “ทุนภูมิพล” ประจำปีการศึกษา 2565

ภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ขอแสดงความยินดีกับนิสิตภาคชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ที่ผ่านการคัดเลือกให้ได้รับทุนการศึกษา “ทุนภูมิพล” ประจำปีการศึกษา 2565 ได้แก่

ระดับปริญญาโท จำนวน 15,000 บาท นายศภณัฐ บุตราช คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา
ระดับปริญญาตรี จำนวน 10,000 บาท นางสาวจิวรักษ์ ปราศจาก คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา

ทั้งนี้ผู้ได้รับทุนการศึกษา “ทุนภูมิพล” จะได้เข้ารับทุนในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2564

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษา”ทุนมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง” ประจำปีการศึกษา 2565

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษา”ทุนมูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง” ประจำปีการศึกษา 2565
นางสาวปวีณา ใจหาญ นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 

โดยเป็นทุนต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา ปีละ 40,000 บาท 

โครงการ Biology Onsite Service บูรณาการสะเต็มศึกษา โรงเรียนบรบือวิทยาคาร

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการ Biology Onsite Service บูรณาการสะเต็มศึกษา นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 150 คน จากโรงเรียนบรบือวิทยาคาร อ.บรบือ จ.มหาสารคาม โดยมีกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ 3 ฐานกิจกรรม ได้แก่ ฐานจุลินทรีย์ การย้อมสีจุลินทรีย์และการทำไวน์ ฐานสัตว์ การผ่าตัดสัตว์ และการศึกษาเนื้อเยื่อสัตว์และฐานพืช การศึกษาโครงสร้างพืช ดอก ผล เมล็ด

ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าภาคชีววิทยา

ขอแสดงความยินดีกับ คุณครูสุรพจน์ บัวเขียว โรงเรียนคำเตยวิทยา จังหวัดยโสธร ศิษย์เก่าภาควิชาชีววิทยา ในโอกาสที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ประจำปี 2565 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตระดับปริญญาตรีภาคชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ ได้รับการตีพิมพ์ ผลงานวิจัยในวารสารวิจัย TCI กลุ่ม 1

นายกฤษฎา จำปาทาสี นางสาวนุจรี ชำนาญทัพ นางสาวอารีรัตน์ ใสส่อง นิสิตภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการตีพิมพ์ผลงานวิจัย ในวารสารการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก (Journal of Thai Traditional & Alternative Medicine) TCI กลุ่ม 1 ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 จากผลงานวิจัยเรื่อง “การประเมินศักยภาพการต้านอนุมูลอิสระ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม เฟลโวนอยด์ แทนนิน จากสารสกัดหยาบของเห็ดระโงกบางชนิด” โดยมี รศ.ดร.ขวัญเรือน นาคสุวรรณ์กุล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิจัย

หน่วยปฏิบัติการวิจัยจุลชีววิทยาและจุลชีววิทยาประยุกต์
(Microbiology and Applied Microbiology)

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์

1ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรนันต์ นาคบรรพต (หัวหน้าหน่วยวิจัย)
2รองศาสตราจารย์ ดร.อภิเดช แสงดี
3รองศาสตราจารย์ ดร.ขนิษฐา สมตระกูล
4ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรา กาญจนรัช
6อาจารย์ ดร.สุรศักดิ์ ขันคํา
7อาจารย์ ดร.รุ่งฤดี ทิวทอง
8ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วราภรณ์ สุทธิสา
9อาจารย์ ดร.สุจิรา มณีรัตน์
10ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอุมา แก้วกล้า

ผลงานวิจัย

นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มมส ค้นพบ”แอคติโนแบคทีเรียสกุลใหม่และชนิดใหม่ของโลก และการประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และการเกษตร”

โครงการชีวสัญจร ครั้งที่ 2 และ Open House ประจำปีการศึกษา 2565 ณ โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2565 ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้จัดโครงการชีวสัญจร ครั้งที่ 2 และ Open House ประจำปีการศึกษา 2565 ณ โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้กับน้อง ๆ นักเรียน ใน 5 ฐานกิจกรรม ได้แก่ ฐานสัตว์ ฐานพืช ฐานนิเวศวิทยา ฐานจุลชีววิทยาและฐานพันธุศาสตร์ โดยมีคณาจารย์และนิสิต และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 100 คน โครงการในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากทั้ง 3 หลักสูตรของภาควิชา ได้แก่ สาขาชีววิทยา จุลชีววิทยา และพันธุศาสตร์โมเลกุล

นักวิจัยภาคชีววิทยา มมส พบซาก “ปลาปอด” ชนิดใหม่ของโลก อายุ 150 ล้านปี

เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายสมหมาย เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ดร.พรเพ็ญ จันทสิทธิ์ นักธรณีวิทยาชํานาญการ พิพิธภัณฑ์สิรินธร กรมทรัพยากรธรณี รองศาสตราจารย์.ดร.มงคล อุดชาชน ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดร.อุทุมพร ดีศรี อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ร่วมแถลงค้นพบซากดึกดําบรรพ์ปลาปอดชนิดใหม่ของโลก “เฟอร์กาโนเซอราโตดัส แอนเคมเป” อายุกว่า 150 ล้านปี มีคุณสมบัติพิเศษ คือหายใจด้วยปอดร่วมกับการหายใจด้วย เหงือก ถูกค้นพบในพื้นที่ ตำบลดินจี่ อำเภอคําม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในหมวดหินภูกระดึง กลุ่มหิน โคราช ยุคจูราสสิกตอนปลาย มีอายุ 150 ล้านปี การวิจัยครั้งนี้มีความสําคัญต่อการศึกษา วิวัฒนาการ และถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก และเป็นหลักฐานแสดงถึงความหลาก หลายชีวภาพของแหล่งซากดึกดําบรรพ์ภูน้อยปลาปอดจัดเป็นปลาโบราณ เนื่องจากพบปรากฏเมื่อ 417 ล้านปี หรือในยุคดีโวเนียน และยังคงพบในปัจจุบัน ลักษณะของปลาปอด คือหายใจด้วยปอดร่วมกับ การหายใจด้วยเหงือก ครีบอก และครีบท้องมีลักษณะเป็นเนื้อหุ้มลําตัวปกคลุมด้วยเกล็ดแบบคอ สมอยด์ ฟันมีลักษณะเป็นแผ่นฟัน ซากดึกดําบรรพ์ปลาปอดสกุลเฟอร์กาโนเซอราโตกัส ถือว่า เป็นซากดึกดําบรรพ์ที่หายาก โดยเฉพาะส่วนกะโหลก โดยสกุลนี้พบในประเทศจีน ประเทศ รัสเซีย และประเทศไทยเท่านั้น ดังนั้นการค้นพบปลาปอด เฟอร์กาโนเซอราโตส แอนเคมเป นับว่ามีความสําคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการและถิ่นอาศัยในอดีตของปลาปอดของโลก

ภาพ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา

Prof.Clive Burrett